วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Windows Server Netware

สร้างโดย 
นายณัฐพล แนววิเศษ 
ปวส.2/1 computer
PTC





ระบบเครื่อข่าย LINUX

 
ระบบปฎิบัติการเครือข่าย Novell



nos




Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )   
       
       1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
       

       1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
       

       2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางใน การบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
     

       3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
 

      4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based




        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย   (Server)  เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่                  

        
         1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS

          
         2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์



        3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้



       4.Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกัน หลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี

     

        ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ Netware ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Novell ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในปี ค.ศ 1983 เป็นระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายท้องถิ่น โดยใช้ศูนย์กลางบริการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานรุ่นแรก และในปัจจุบันพัมนาจนมีความก้าวหน้าไปมาก Netware มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ดดยมีผู้ใช้มากว่า 1 ล้านคนทั่วโลก








ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามขนาดได้ 3 ประเภท ดังนี้



        1. Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายโดย การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์เดียวกันหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่าย หรือเรียกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายอินทราเน็ต (Ethernet) เช่น ระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เป็นต้น




        2. Metro Area Network (MAN) เป็นเครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจจะมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้



        3. Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายระบบแลนหลาย ๆ เครือข่ายจากที่ห่างไกล มากๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งระบบเครือข่ายแวน (WAN) เป็นระบบพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง



องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย



        1. เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป

        2. การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่ง ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

       3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) ได้แก่ สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ สื่อกลางในการส่งข้อมูล จะอธิบายอย่างละเอียดในหน่วยที่ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่าย

สาย UTP Cat 5

       

       4. ระบบปฏิบัติการที่รองรับระบบเครือข่าย แบ่งออกได้ 2 ประเภท

     4.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้แก่ Netware, Window NT/ Windows 2000 Server, Linux และ Unix เป็นต้น

    4.2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ลูกข่าย (Client or Workstation) ได้แก่ MS Dos, Window 95, Window 98/Me, Window 2000, Linux เป็นต้น

    5. ฮับ (Hub), สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย



การทำงานของระบบ 








Group Policy คืออะไร
คือฟีเจอร์หนึ่งใน Windows Server  ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายหรือข้อบังคับต่างๆ ที่ผู้ดูแลระบบต้องการให้ผู้ใช้งานทั้งหมดหรือบางส่วนต้องปฏิบัติตาม โดยผมขอเรียกนโยบายหรือข้อบังคับนี้ว่า “Policy” นะครับ โดยผู้ดูแลระบบสามารถกำหนด Policy ในเรื่องต่างๆ ได้ว่า เช่น เกี่ยวกับการควบคุมสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ใช้งาน (Manage and Control User Desktop Environment), เกี่ยวกับ IE (Internet Explorer), Scripting, Security และ Software Distribution และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมายครับ เชื่อไหมครับว่า Group Policy ทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง Windows 2003 โดเมน หรือแม้กระทั่ง Windows 2003 Workgroup ซึ่งจะว่าไปแล้วทุกคนเกี่ยวข้องกับ Group Policy หมดครับ โดยเริ่มตั้งแต่ล็อกออนเข้าสู่โดเมนหรือเวิร์กกรุ๊ป ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับหรือสามารถใช้งาน Group Policy ได้
     ด้วยความสามารถของ GPMC เราสามารถใช้มันในการจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Group Policy โดยทำผ่าน GPMC คอนโซลนี้ครับ ต่อไปผมจะสาธิตวิธีการสร้าง Group Policy โดยใช้ GPMC โดยก่อนที่ผมจะสร้างมีเรื่องที่ผมอยากจะอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบก่อนคือ เมื่อสร้าง Policy ใน Windows Server 2008 จะมี Object ตัวหนึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วย เรียกว่า “ Group Policy Object” หรือเรียกสั้นๆ ว่า GPO ค่าที่เรากำหนดต่างๆ เพื่อใช้เป็นนโยบายเพื่อบังคับใช้กับผู้ใช้งาน จะถูกเก็บลงไปใน GPO นี้ครับ และจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
ระบบเครือข่าย
  • Computer Configuration
  • User Configuration 
  •     
  •     สรุปในส่วนของ Starter GPO จะมี ประโยชน์สำหรับในกรณี เราต้องการกำหนด Policy ต้นแบบหรือสแตนดาร์ดที่ต้องการใช้งานกับหลายแผนกในองค์กร แทนที่จะต้องมากำหนดทีละ GPO เอง ก็สามารถเรียกใช้ Starter GPO มาช่วย และสามารถแก้ไข ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการครับ มา ถึงตรงนี้พื้นที่หมดพอดีแหมกำลังมันเลยครับ แต่ ไม่เป็นไรเอาไว้มาต่อกันในฉบับหน้าครับผม 
  •  
  •  
  •    สเปคของเครื่อง ประมาณนี้
  •  
  • + Dell PowerEdge(TM) T310, Intel Xeon X3440 Processor 2.53 GHz, 8 M Cache, Turbo, HT
    + PowerEdge T310 Server Heat Sink
    + One broadcam 5716 dual port Gigabit Ethernet without TOE enabled
    + C11 cabled ASS R5 for PERC 6i/H700, Min 3 Max. 4SAS/SATA Cabled Drived
    + Dell PERC6/I Raid Controller Card
    + Cable for PERC6i, Cabled Chassis
    + 3 x 160 GB 3.5-inch 7.2 K RPM SATA II Hard Drive - Non Hotplug
    + Chassis for Non Hotplug Hard Drives & TPM Motherboard-T310
    + BMC info Mod
    + 2 GB Memory (1x2GB Dual Rank RDIMM 1066MHz)
    + Dell USB 104-Key Standard Black Keyboard
    + Optical USB Mouse (2-Button with Scroll)
    + Dell 20" E2010H Wide Screen Flat Panel LCD Monitor
    + 1XPower Cord, 250V, 10A, 2M, C13, THAI
    + 16xSATA DVD+/-RW Drive(with RAM) for MS 2008 R2
    + SATA Optical cable for T310
    + Microsoft Windows Server 2008x32 SP2 Standard ED.Eng(5 CALs), FI downgrade to Microsoft Windows Server 2003
    + CD Kit for Microsoft Windows Server 2008x32/x64 Standard ED.Eng
    + Dell OpenManage Kit for PowerEdge T310 Server
    + Dell Management Console 1.0
    + Non-Redundant Power Supply(1PSU) 375 W
    + Ship Mod for PowerEdge T310